หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประวัติ วัดพระธาตุเชิงชุม

ประวัติความเป็นมา
ตามอุรังค นิทาน กล่าวว่า วัดพระธาตุเชิงชุม เป็นสถานที่ พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาโปรดชาวเมืองหนองหาร หลวง และกล่าวว่าบริเวณนี้เป็นที่บรรจุพระบาท ของพระพุทธเจ้า พระองค์ คือ พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า กุกสันโธ โกนาคมโน กัส สะโป และโคตมะ ซึ่งก่อนจะเสด็จดับขันธ์ ปรินิพพาน ต้องไปประทับรอยพระบาทไว้ที่นั่นทุก พระองค์ นับว่าพระพุทธเจ้าพระนามว่า ศรีอาริยเมตตรัย องค์ที่ ในภัทกัปป์นี้ ก็จะประทับรอยพระบาทไว้เช่นกัน ด้วยเห ตะนี้จึงถือกันว่าวัดพระธาตุเชิงชุม จึงเป็นวัดแรกที่พระยาสุวรรณภิงคาระ พระะ นางนารายณ์เจงเวง และเจ้าคำแดงอนุชาพระยา สิวรรณภิงคาร มาสร้างวัดขึ้นเมื่อย้ายราชธานี จากบริเวณซ่งน้ำพุและท่านางอายฝั่งตรงข้าม หนองหาร เมื่อครั้งหนองหารล่มเพราะการกระทำของ พญานาคพระอุโบสถหลังใหม่ในวัดพระธาตุเชิงชุม
อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานเสมา หินที่พบอยู่รอบ ๆ วัดพระธาตุเชิงชุม และหลักฐานแท่านบูชารูปเคารพ ตลอดยนศิลาจารึกตัว อักษรขอมในพุทธศตวรรษที่ 15 16 ซึ่งอยู่ ติดผนังทางเข้าภายในอุโมงค์พระธาตุเชิงชุม (ชั้นในซึ่งก่อเป็นพระธานุหรือ สถูปขนาดเล็ก หลักฐานเหล่านี้บ่งบอกว่า บริเวณ วัดพระธาตุเชิงชุมได้มีชุมชนเกิดขึ้น ต่อเนื่องกันมา โดยเฉพาะศิลาจารึกที่กรอบประตู ทางเข้าปรางค์ขอมหรือสถูป ซึ่งมีความกว้าง 49 .ยาว 52 .เขียน เป็นตัวอักษรขอมโบราณ เนื้อความกล่าวถึงบุคคลจำนวน หนึ่ง ได้พากันไปชี้แจงแก่โขลญพล หัว หน้าหมู่บ้าน พระนุรพิเนาตามคำแนะนำ ของกำแสดงว่าที่ดินที่ราษฎรหมู่บ้านพะ นุรนิเนามอบให้โบลูญพลนี้มี ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นที่ดินในหลักเขต ให้ขึ้น กับหัวหน้าหมู่บ้านพะนุรพิเนา นอกจาก เรื่องการมอบที่ดินแล้ว ข้อความตอนท้ายของ จารึกได้กล่าวถึงการกัลปนาของโขลญพลที่ได้ อุทิศตน สิ่งของที่นา แด่เทวสถานและสงกรานต์
กล่าวโดยสรุปในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 16 บริเวณวัดพระธาตุเชิงชุมคงถูกปกครอง โดยคนกลุ่มขอมที่พากันสร้างวัด โดยอุทิศ ที่ดิน บริวาร ข้าทาส ให้ดูแลวัด หรือศา สนสถานแห่งนี้ ซึ่งอาจเป็นศาสนสถานตาม คติพราหมณ์หรือพุทธมหายานก็ได้
ความสำคัญต่อชุมชน
หลักฐานการตั้งชุมชนบริเวณวัดพระ ธาตุเชิงชุมในสมัยรัตนโกสินทร์ค่อนข้างเด่น ชัด โดยเฉพาะพงศาวดาร ฉบับพระยาประจันตประเทศธานี ( โง่นคำกล่าวว่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดผ้าจุ)าโลกมหาคาช โปรด เกล้าฯ ให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ พร้อมไพร่พลตัวเลก สิมหลังเก่าและวิหารที่ประดิษฐานหลวงพ่อองค์แสนมาตั้งเมืองรักษาพระธาตุเชิงชุม เมื่อมีผู้ คนมากขึ้นก็โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านธาตุ เชิงชุม ขึ้นเป็นเมืองสกลทวาปี เมื่อปี  ..2329 อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดศึก เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เป็นกบฏใน . .2370 เมืองสกลนครต้องโทษเป็นกบฎขัดขืนอาญา ศึก เจ้าเมืองฝักใฝ่กับเจ้าอนุวงค์ไม่ได้เตรียม กำลังไพร่พล กระสุนดินดำ เว้ให้ทัพหลวงตาม คำสั่ง พระธานีเจ้าเมืองสกลทวาปีถูกประหาร ชีวิต ญาติพี่น้องเจ้าเมืองถูกกวาดต้อนไปอยู่ เมืองกบิลประจันตคาม จึงทำให้บริเวณวัดพระธาตุ เชิงชุม ซึ่งเป็นศูนย์กลางของเมืองถูกทิ้งร้าง ชั่วคราวปล่อยให้หมู่บ้านรอบ ๆ 10 หมู่บ้าน เป็นข้าพระธาตุดูแลวัดแห่งนี้
หลังการกบฎของเจ้าอนุวงศ์ ราชวงศ์ (คำแห่งเมือง มหาชัยกองแก้วได้เข้ามาพึ่งบราโพธิสมภาร โปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นพระประเทศธานี(คำ ) เจ้าเมืองและให้ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์มาดำรงตำแหน่ง อุปฮาด ให้ท้าวอินน้องชายราชวงศ์(คำ)เป็น ราชวงศ์ ให้ท้าวบุตรเมืองกาฬสินธุ์เป็นราชวงศ์ มีการสร้าง กุฏิ ศาลาการเปรียญตั้งแต่นั้นมาวัดพระธาตุ เชิงชุมก็เจริญขึ้นตามลำดับ
จึงถือว่าวัดพระธาตุเชิงชุมเป็นศูนย์กลางของเมืองสกลนคร มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระธาตุเชิงชุม
วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร มีโบราณสถาน โบราณวัตถุสำคัญ ๆ นับแต่องค์พระธาตุเชิงชุม หลวงพ่อพระ พุทธองค์แสน พระอุโบสถ พระวิหาร หอจำศีล ( สิมหลังเล็ก90 ไตร ฯลฯ ในที่นี้ขออธิบายเฉพาะตัวสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุเท่านั้นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีทรงนำนักเรียนนายร้อย จ.ป.ร. ปีที่4และ5ศึกษาโบราณสถานที่วัดพระธาตุเชิงชุม
พระธาตุเชิงชุมเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนสี่ เหลี่ยม สูง 24 เมตรเศษ มีซุ้มประตู ด้าน คือ ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ด้านใต้ ลักษณะประตูเป็นประตู ปิด เปิด ได้แต่เปิดไม่ได้มากเพราะติด องค์สถูปภายใน ซึ่งเจดีย์องค์ใหม่สร้างครอบไว้ ส่วนด้านตะวันออกเป็นประตูทางเข้าสถูปภายใน วิหาร
ทรวดทรงของพระธาตุเชิงชุม เป็นทรงเจดีย์ สี่เหลี่ยมลดชั้นจากฐานขึ้นไปสู่ยอดเป็น ช่วง ๆ ช่วง จึงถึงเต้าระฆัง และรับด้วย ดวงปลีที่ทำเป็นทรงบัวเหลี่ยมปักยอดฉัตร ทองคำ ลักษณะการลดชั้นเจดีย์รับด้วยดวงปลี ทรงบัวเหลี่ยม ทำให้องค์พระธาตุเชิงชุมมี ความสวยงามกระทัดรัดไม่เทอะทะ เช่น เจดีย์ทรง ฐานกว้างเตี้ย นอกจากนี้สถาปนิกยังสร้างให้ซุ้ม ประตู ด้าน เพื่อให้ประชาชนเห็นองค์พระธาตุ (สถูปเดิมภายใน ต่อมาได้มีการ นำพระพุทธรูปปางห้ามญาติ อิทธิพลล้านช้าง มาติดไว้ในซุ้มทั้ง ด้าน นับว่าเป็น ส่วนประกอบองค์สถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ และเป็นประติมากรรม แบบล้านช้างที่แท้จริง
องค์ประกอบสำคัญขององค์พระธาตุเชิงชุมคือ ซุ้มประตูโขงทรงหอแก้วดอ เป็นลักษณะหอแก้วเฟื่อง คือ มีขนาดพองาม และ ในพื้นที่ครึ่งหนึ่งของปริมณฑล ทำให้พื้นที่ บริเวณฐานเจดีย์องค์พระธาตุสวยงาม ในส่วนราย ละเอียดของซุ้มประตูนั้นเป็นงานสถาปัตยกรรมฝีมือช่าง ชั้นครู โดยเฉพาะลายของก้นหอยซึ่งทำขนาด ใหญ่น้อยเรียงกันไป เพียงแต่มีปูนขาวทาบ ทับนนหนาปิดบังความคมชัดของลายก้นหอย อันวิจิตรบรรจง

3 ความคิดเห็น: